ไขข้อสงสัย แอนิเมชั่นดิสนีย์ มังกรตัวสุดท้ายในรายา คือตัวอะไรกันแน่?
ไขข้อสงสัย แอนิเมชั่นดิสนีย์ มังกรตัวสุดท้ายในรายา คือตัวอะไรกันแน่?
แกะตัวอย่างหนังใหม่ ไขข้อสงสัย แอนิเมชั่นดิสนีย์ มังกรตัวสุดท้ายในรายา คือตัวอะไรกันแน่?
สวัสดีจ้าาสาวๆหนุ่ม ๆวันนี้แอดมินจะพามาแกะตัวอย่างหนังใหม่ ไขข้อสงสัย แอนิเมชั่นดิสนีย์ มังกรตัวสุดท้ายในรายา คือตัวอะไรกันแน่ บางคนบอก มังกรนั่นแหละ เน้นความสากล บางคนบอก มันคือพญานาค!! แต่ๆๆๆ ทำไม พญานาคถึงมีขาล่ะ ?? วันนี้เราเลยมาวิเคราะห์ ไขข้อข้องใจกันดีกว่า แบบสนุกๆ เอาอา ไม่ซีเรียสนะ
สำหรับค่ายหนังยักษ์ใหญ่อย่าง Walt Disney Animation Studios ได้ออกมาเปิดเผยว่า เรื่องนี้จะเป็นการรวบรวมเอาวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งในเรื่องนี้ ทางทีมงานได้รับแรงบันดาลใจมาจากอารยธรรมในประเทศอินโดนีเซีย (เกาะบาหลี), ประเทศไทย ,ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา นั่นเองจ้าาาาา
ซึ่งหลังจาก Walt Disney ได้มีการปล่อยตัวโลโก้ และ ภาพงาน ออกมา ก็ขอบอกเลยว่า มีหลายคนต่างให้สนใจเเละคิดไปต่างๆ นานา ซึ่งยิ่งเข้าใกล้วันฉายแค่ไหนก็ยิ่งเป็นกระเเสในอินเทอร์เน็ต ประมาณว่า “สัตว์วิเศษในเรื่องอ่ะ ที่มีจงอยเเหลมๆ บนหัวนั่นมันดูคล้ายๆ กับพญานาคหรือเปล่านะ?” ซึ่งแน่นอน ในข้อมูลที่ Official ได้ระบุว่าก็บอกแค่เป็นเพียงมังกรน้ำ ???? มังกรในน้ำอ่ะนะ (พากษ์โดย Awkwafina) ที่สามารถเปลี่ยนร่างเป็นมนุษย์ได้ด้วย!! นาคีบ่นิ ยิ่งทำให้หลายคนออกมาฟันธงว่า ต้องพญานาคเเน่ๆ เลย!!! แต่ๆๆๆๆ ทำไมพญานาคถึงมีขาล่ะ ?? แบบนี้มันบิดเบือนนี่!! พญานาคต้องไม่มีขาเว้ยยยยย!!!
แต่ก็มีอีกกระเเสว่า ที่จริงแล้ววววว บอกว่า ไม่ใช่พญานาคสักหน่อย มันเหมือนกับตัว เหรา ต่างหากล่ะ ตรงนี้ หลายคนอาจจะ งง และไม่คุ้นชื่อ หรือบางคนอาจจะเพิ่งเคยได้ยินชื่อนี้เป็นครั้งเเรกเลยก็ได้ว่า งั้นวันนี้แอดจะเอาคำอธิบายมาแปะให้อ่านนะ
เหรา นั้นเป็นสัตว์ในหิมพานต์ ซึ่งสัตว์ค่อนไปทางจำพวกจรเข้ ผสมกับนาค
หลายคนเชื่อว่ามันเป็นสัตว์ที่อยู่ได้ทั้งบนบกและในน้ำ กินเนื้อเป็นอาหาร เหรา หรือที่ชาวล้านนา พม่า เรียกว่า มกร (มะ-กะ-ระ) จริงๆแล้ว ตัวมกรนั้นปรากฏเป็นสัตว์ในนิยายในความเชื่อของพม่า เขมร และอินเดีย นะคะ โดยมีลักษณะเทียบเคียงกับตัวเหราในป่าหิมพานต์ของไทย ตัวมกรเองก็จัดอยู่ในตระกูลจระเข้เช่นเดียวกัน ที่ชาวภาคเหนือเรียกเหราว่ามกรนั้น เหตุก็เพราะทางภาคเหนือมีพื้นพี่ติดกับพม่า จึงรับอิทธิพลจากฝั่งพม่ามาโดยปริยาย บางครั้งเราก็เรียก มกร ว่า เบญจลักษณ์ , ตัวสำรอก เนื่องจากในงานศิลปะ มกรมักจะคายหรือสำรอกเอาวัตถุใดๆออกมาทุกครั้ง
เหราในวรรณคดีไทย
ในวรรณคดีมักจะกล่าวถึงสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า “เหรา” อย่างใน เรื่องอุณรุท ก็มีกล่าวถึงตอนนางศรีสุดาลงสำเภาไปในทะเลว่า
“เงือกงามหน้ากายคล้ายมนุษย์ เคล้าคู่พู่ผุดในชลฉาน
ราหูว่ายหาปลาวาฬ โลมาผุดพ่านอลวน
พิมทองท่องเล่นเป็นหมู่หมู่ สีเสียดปนอยู่กับยี่สน
จันทรเม็ดแมวม้าหน้าคน ฉลามลอยล่องพ่นวาริน
มังกรเกี้ยวกันกลับกลอก เหราเล่นระลอกกระฉอกกสินธุ์
ช้างน้ำงามล้ำหัสดิน ผุดเคล้านางกรินกำเริบฤทธิ์”
ในเรื่องนี้ไม่บอกว่า เหรา มีรูปร่างเป็นอย่างไร แต่พอจับความได้ว่า เป็น สัตว์ทะเล ในพจนานุกรมอธิบายไว้ว่า เหรา เป็น “สัตว์ในนิยาย มีรูปครึ่งนาค
ครึ่งจรเข้” อ่านคำอธิบายแล้วยังไม่รู้ว่าครึ่งไหนเป็นอะไร ต้องฟังเพลงโบราณจึงจะรู้ประวัติ เพลงโบราณเล่าถึงประวัติ เหรา ไว้ว่า
“บิดานั้นนาคา มารดานั้นมังกร
มีตีนทั้งสี่ หน้ามีทั้งครีบทั้งหงอน”
เหรายังสามารถแยกย่อยเป็นลูกครึ่งได้อีก 3 ชนิดดังนี้
สุบรรณเหรา (ครึ่งครุฑครึ่งเหรา) ลักษณะ ตัวเป็นนกแบบครุฑ หัวเป็นเหรา แข้งขาเป็นสิงห์ ขนหางเป็นนก
สกุณเหรา (ครึ่งนกครึ่งมังกร) ลักษณะ ตัวเป็นนก หัวเป็นมังกร มีเขา หางกระหนก ขาและเท้าเหมือนครุฑ
อัสดรเหรา (ครึ่งม้าครึ่งเหรา) ลักษณะ ผิวกายสีม่วงอ่อน บางทีก็วาดเหมือนจระเข้ บ้างก็วาดออกมาเหมือนมังกร
ความเชื่อเรื่องมกรคายนาค
ชาวพม่าและล้านนาเชื่อว่า มกร จะเป็นตัวแทนของความไม่รู้ หรือ อวิชชา ที่คายนาคออกมา เพื่อจะก้าวเข้าสู่วิชา แต่หากเรามองไปในแง่มุมของการเมืองแล้ว พญานาคอันเป็นสัตว์ที่ชาวล้านนาให้ความเคารพและสักการะนั้น ถูกกลืนไปโดยมกร ซึ่งเป็นสัตว์ในความเชื่อของพม่า ราวกับว่าเป็นการสร้างเพื่อข่มกัน เพราะเคยตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาก่อน
ที่มาข้อมูล: https://writer.dek-d.com/รวมสัตว์โลก และสัตว์ในตำนาน
>> Animation หนังอนิเมชั่น Movies <<
และนับว่านี่ก็เป็นข้อสันนิษฐานที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะดูจะละม้ายคล้ายคลึงที่สุดแล้ว เอาเป็นว่าจะเป็นอย่างไร ติดตามชมปีหน้าได้เลยจ้าาาาา
หนังใหม่น่าดู รายา เจ้าหญิงดิสนีย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนแรก